นับตั้งแต่การเสนอกรอบการควบคุมภายใน
COSO
ในปี ค.ศ. 1992 COSO 1 กรอบแนวทางการควบคุมภายในตาม COSO ได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบการควบคุมภายในที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลากว่า
20 ปี จนกระทั่งมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ เมื่อเดือน พฤษภาคม 2013 COSO 2013
โดยได้ถูกปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ซึ่งยังตั้งอยู่บน 5 องค์ประกอบหลักเดิม แต่เพิ่มเติม 17 หลักการย่อย
เพื่อทำให้ระบบการควบคุมภายในมีความเข้มแข็งและชัดเจนยิ่งขึ้น
การมีระบบการควบคุมภายในที่ดี
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์
หรือมีประชาชนเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งการควบคุมภายในจะสามารถช่วยป้องกัน บริหาร
จัดการความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียได้เป็นอย่างดี
ทั้งยังก่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า องค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ทั้งด้านการดำเนินงาน การรายงาน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
อีกทั้งเพื่อให้การจัดทำและอนุมัติแบบประเมินฯ เสร็จสมบูรณ์
ภายในระยะเวลาที่ต้องยื่นแบบ 56-1 และ 69-1
ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ที่จะต้องดำเนินการให้มั่นใจว่า
บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอ
ในการดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กฎหมาย
ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันทรัพย์สิน จากการทุจริต
และความเสียหาย รวมทั้งมีการจัดทำรายงานทางบัญชีที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีความเข้าใจในกรอบการประเมินการควบคุมภายใน
เพื่อที่จะทำการสอบทานระบบการควบคุมภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น