วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

องค์ประกอบ การควบคุมภายใน COSO 2013

ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 17 หลักการ

องค์ประกอบที่ 1: สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)
     หลักการที่ 1 - องค์กรยึดหลักความซื่อตรงและจริยธรรม
     หลักการที่ 2 - คณะกรรมการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการกำกับดูแล
     หลักการที่ 3 - คณะกรรมการและฝ่ายบริหาร มีอำนาจการสั่งการชัดเจน
     หลักการที่ 4 - องค์กร จูงใจ รักษาไว้ และจูงใจพนักงาน
     หลักการที่ 5 – องค์กรผลักดันให้ทุกตำแหน่งรับผิดชอบต่อการควบคุมภายใน

องค์ประกอบที่ 2: การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
     หลักการที่ 6 - กำหนดเป้าหมายชัดเจน
     หลักการที่ 7 - ระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างครอบคลุม
     หลักการที่ 8 - พิจารณาโอกาสที่จะเกิดการทุจริต
     หลักการที่ 9 – ระบุและประเมินความเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่อการควบคุมภายใน

องค์ประกอบที่ 3: กิจกรรมการควบคุม (Control   Activities)
     หลักการที่ 10 - ควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
     หลักการที่ 11 - พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในการควบคุม
     หลักการที่ 12 – ควบคุมให้นโยบายสามารถปฏิบัติได้

องค์ประกอบที่ 4: สารสนเทศและการสื่อสาร (Information   and Communication)
     หลักการที่ 13 - องค์กรมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีคุณภาพ
     หลักการที่14 - มีการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ให้การควบคุมภายในดำเนินต่อไปได้
     หลักการที่ 15 - มีการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก ในประเด็นที่อาจกระทบต่อการควบคุมภายใน

องค์ประกอบที่ 5: กิจกรรมการกำกับติดตามและประเมินผล   (Monitoring   Activities)
     หลักการที่ 16 - ติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน
     หลักการที่ 17 - ประเมินและสื่อสารข้อบกพร่องของการควบคุมภายในทันเวลา และเหมาะสม


ทั้งนี้ องค์ประกอบการควบคุมภายในแต่ละองค์ประกอบและหลักการจะต้อง Present & Function (มีอยู่จริง และ นำไปปฏิบัติได้) อีกทั้งทำงานอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิผล





Point of Focus ในแต่ละองค์ประกอบ

องค์ประกอบที่ 1: สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)

     หลักการที่ 1 – องค์กรยึดหลักความซื่อตรงและจริยธรรม
1.1)       แสดงให้เห็นโดยผ่านคำสั่ง การกระทำ พฤติกรรม
1.2)       จัดทำมาตรฐานของจรรยาบรรณ
1.3)       ประเมินการยึดมั่นในมาตรฐานของจรรยาบรรณ
1.4)       รายงานการเบี่ยงเบนในเวลาที่เหมาะสม

     หลักการที่ 2 – คณะกรรมการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการกำกับดูแล
 2.1)    กำหนดความรับผิดชอบในการกำกับดูแล
 2.2)    กรรมการบริษัทมีความรู้ความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
 2.3)    ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ จากฝ่ายบริหาร
 2.4)    กำกับดูแลในเรื่องสภาพแวดล้อมของการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามประเมินผล

     หลักการที่ 3 - คณะกรรมการและฝ่ายบริหาร มีอำนาจการสั่งการชัดเจน
 3.1)   พิจารณาโครงสร้างทั้งหมดของกิจการ
 3.2)   กำหนดสายการรายงาน
 3.3)   กำหนด มอบหมาย และจำกัดขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

     หลักการที่ 4 - องค์กร จูงใจ รักษาไว้ และจูงใจพนักงาน
 4.1)   วางนโยบายและวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการบริหารบุคลากร
 4.2)   ประเมินความสามารถรายบุคคลและระบุส่วนที่ยังขาดอยู่เพื่อปรับปรุงแก้ไข
 4.3)   จูงใจ พัฒนาและรักษาบุคคลากร
 4.4)   วางแผนและเตรียมสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession)

     หลักการที่ 5 – องค์กรผลักดันให้ทุกตำแหน่งรับผิดชอบต่อการควบคุมภายใน
 5.1)   บังคับให้มีความรับผิดชอบต่อการควบคุมภายในผ่านโครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
 5.2)   กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจและการให้รางวัล
 5.3)   ประเมินตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน สิ่งจูงใจ และรางวัลอย่างต่อเนื่อง
 5.4)   พิจารณาความกดดันในการทำงานที่มากเกินไป
 5.5)   ประเมินผลกาปฏิบัติงาน การให้รางวัล และการลงโทษพนักงานเป็นรายบุคคล

องค์ประกอบที่ 2: การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

     หลักการที่ 6 – กำหนดเป้าหมายชัดเจน
 6.1)   องค์กรปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
 6.2)   องค์กรกำหนดสาระสำคัญของรายงานทางการเงิน
 6.3)   รายงานทางการเงินสะท้อนถึงกิจกรรมขององค์กร
 6.4)   คณะกรรมการอนุมัติและสื่อสารนโยบายบริหารความเสี่ยงให้ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

     หลักการที่ 7 – ระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างครอบคลุม
 7.1)   ระบุความเสี่ยงทุกประเภท ทั้งระดับ องค์กร ฝ่ายงาน
 7.2)   วิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งปัจจัยภายใน/ภายนอก
 7.3)  ให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วม
 7.4)   ประเมินนัยสำคัญของความเสี่ยงที่ระบุ
 7.5)   กำหนดว่าจะตอบสนองความเสี่ยงอย่างไร

     หลักการที่ 8 – พิจารณาโอกาสที่จะเกิดการทุจริต
 8.1)   ประเมินโอกาสที่จะเกิดการทุจริตประเภทต่างๆ
 8.2)   ทบทวนเป้าหมาย แรงจูงใจและแรงกดดัน
 8.3)   คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาและสอบถามผู้บริหารเกี่ยวกับโอกาสเกิดทุจริต และมาตรการป้องกัน
 8.4)   บริษัทได้สื่อสารให้พนักงานปฏิบัติตามนโยบาย

     หลักการที่ 9 – ระบุและประเมินความเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่อการควบคุมภายใน
 9.1)   ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอก
 9.2)   ประเมินการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ
 9.3)   ประเมินการเปลี่ยนแปลงผู้นำองค์กร

องค์ประกอบที่ 3: กิจกรรมการควบคุม (Control   Activities)

     หลักการที่ 10 – ควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
 10.1)  การควบคุมเหมาะสมกับความเสี่ยง และลักษณะเฉพาะขององค์กร สภาพแวดล้อม ลักษณะของงาน
 10.2)  มีมาตรการการควบคุมภายในที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น นโยบาย คู่มือ ระเบียบ
 10.3)  กำหนดกิจกรรมควบคุมให้มีความหลากหลายอย่างเหมาะสมการผสมผสานของกิจกรรมการควบคุมหลายๆประเภท
 10.4)  กำหนดให้มีการควบคุมทุกระดับขององค์กร
 10.5)  มีการแบ่งแยกหน้าที่ ผู้อนุมัติ ผู้บันทึก ผู้ดูแลเก็บรักษา

     หลักการที่ 11 – พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในการควบคุม
 11.1)  กำหนดความเกี่ยวข้องกันของการใช้ IT ในกระบวนการธุรกิจกับการควบคุมทั่วไปทางด้าน ITให้เหมาะสม
 11.2)  กำหนดกิจกรรมการควบคุมด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสม
 11.3)  กำหนดกิจกรรมการควบคุมด้านความปลอดภัยให้เหมาะสม
 11.4)  กำหนดกิจกรรมการควบคุมด้านการจัดหา การพัฒนา และดูแลรักษาระบบ

     หลักการที่ 12 – ควบคุมให้นโยบายสามารถปฏิบัติได้
 12.1)  มีนโยบายที่รัดกุมเพื่อติดตามการทำธุรกรรมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร
 12.2)  มีนโยบายเพื่อให้การอนุมัติการทำธุรกรรมกระทำโดยผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสีย
 12.3)  มีนโยบายเพื่อให้การอนุมัติธุรกรรมคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัท เสมือนเป็นรายการที่ทำกับบุคคลภายนอก(at arms’ length basis)
 12.4)  มีกระบวนการติดตามดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทร่วม
 12.5)  กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
 12.6)  นโยบายและกระบวนการปฏิบัติได้รับการนำไปใช้ในเวลาที่เหมาะสม
 12.7)  ทบทวนนโยบายและกระบวนการทำงานให้เหมาะสมอยู่เสมอ

องค์ประกอบที่ 4: สารสนเทศและการสื่อสาร (Information   and Communication)

     หลักการที่ 13 – องค์กรมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีคุณภาพ
 13.1)  ระบุสารสนเทศที่ต้องการใช้ในการดำเนินงาน
 13.2)  พิจารณา ต้นทุน ประโยชน์ รวมทั้งปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล
 13.3)  ดำเนินการเพื่อให้กรรมการมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ
 13.4)  ดำเนินการเพื่อให้กรรมการได้รับหนังสือเชิญประชุมและเอกสารล่วงหน้าก่อนการประชุมตามที่กฎหมายกำหนด
 13.5)  ดำเนินการเพื่อให้รายงานการประชุมมีรายละเอียดสามารถสอบย้อนได้
 13.6)  องค์กรมีการดำเนินการดังนี้ เก็บเอกสารเป็นระบบ แก้ไขข้อบกพร่องการควบคุม ตามความเห็นผู้สอบ

     หลักการที่14 - มีการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร ให้การควบคุมภายในดำเนินต่อไปได้
 14.1)  มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีช่องทางที่เหมาะสม
 14.2)  มีการรายงานข้อมูลที่สำคัญถึงกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
 14.3)  จัดให้มีช่องทางสื่อสารลับเพื่อแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต

     หลักการที่ 15 - มีการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก ในประเด็นที่อาจกระทบต่อการควบคุมภายใน
 15.1)  สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ มีช่องทางที่เหมาะสม
 15.2)  มีช่องทางสื่อสารลับ สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก แจ้งเบาะแสการทุจริต

องค์ประกอบที่ 5: กิจกรรมการกำกับติดตามและประเมินผล   (Monitoring   Activities)

     หลักการที่ 16 - ติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน
 16.1)  จัดให้มีการติดตามการปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจและข้อกำหนด ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
 16.2)  จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้ โดยการประเมินตนเอง และ/หรือการประเมินโดยผู้ตรวจสอบภายใน
 16.3)  ความถี่การติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของบริษัท
 16.4)  ติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน โดยผู้มีความรู้ความสามารถ
 16.5)  กำหนดแนวทางการรายงานผลการตรวจสอบภายใน ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
 16.6)  ส่งเสริมให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานสากล การปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน

     หลักการที่ 17 - ประเมินและสื่อสารข้อบกพร่องของการควบคุมภายในทันเวลา และเหมาะสม
 17.1)  ประเมินผลและสื่อสารข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน และดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที
 17.2)  รายงานต่อคณะกรรมการบริษัททันทีที่เกิดเหตุการณ์ทุจริตร้ายแรง การฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทำที่ผิดปกติ ซึ่งกระทบชื่อเสียงและฐานะการเงินบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
 17.3)  รายงานข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ พร้อมแนวทางแก้ไข ต่อคณะกรรมการบริษัท/คณะกรรมการตรวจสอบ ในเวลาอันควร

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ องค์ประกอบที่ 1
    สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)

    ซึ่งในเรื่องของ Code of conduct จะมีหัวข้อแยกออกมาอีก คือ
    ข้อ 1.3.2 การประเมินตนเองโดยผู้บริหารและพนักงาน

    ไม่ทราบว่าพอจะมี Guide line หรือคำแนะนำ หรือหัวข้อต่างๆ ที่เราจะนำมาใช้ประเมินหรือไม่คะ
    พยายามหาข้อมูลจาก internet ก็ไม่มีเเนวทางเลยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. อยากทราบชื่อคนเขียบล้อกนี้ค่ะจะใช้ในการทำรายงาน

    ตอบลบ